วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สมบัติการเท่ากันของจำนวนจริง

สมบัติการบวกในระบบจำนวนจริง    
        กำหนด a, b, c เป็นจำนวนจริงใดๆ
        1.  สมบัติปิดการบวก a + b เป็นจำนวนจริง
        2.  สมบัติการสลับที่ของการบวก a + b = b + c
        3.  สมบัติการเปลี่ยนกลุ่มการบวก a + ( b + c) = ( a + b ) + c
        4.  เอกลักษณ์การบวก 0 + a = a = a + 0
       นั่นคือ ในระบบจำนวนจริงจะมี 0 เป็นเอกลักษณ์การบวก
       5.  อินเวอร์สการบวก a + ( -a ) = 0 = ( -a ) + a
     นั่นคือ ในระบบจำนวนจริง จำนวน a จะมี -a เป็นอินเวอร์สของการบวก
สมบัติการคูณในระบบจำนวนจริง
     กำหนด a, b, c เป็นจำนวนจริงใดๆ
        1.  สมบัติปิดการคูณ ab เป็นจำนวนจริง
        2.  สมบัติการสลับที่ของการคูณ ab = bc
        3.  สมบัติการเปลี่ยนกลุ่มการคูณ a(bc) = (ab)c
        4.  เอกลักษณ์การคูณ 1 · a = a = a · 1
       นั่นคือ ในระบบจำนวนจริงจะมี 1 เป็นเอกลักษณ์การคูณ
        5.  อินเวอร์สการคูณ a · a-1 = 1 = a · a-1, a   0
     นั่นคือ ในระบบจำนวนจริง จำนวน a จะมี a-1 เป็นอินเวอร์สของการคูณ
        6.  สมบัติการแจกแจง
                 a( b + c ) = ab + ac
                 ( b + c )a = ba + ca
        
   จากสมบัติของระบบจำนวนจริงที่ได้กล่าวไปแล้ว สามารถนำมาพิสูจน์เป็นทฤษฎีบทต่างๆได้ดังนี้
ทฤษฎีบทที่ 1  กฎการตัดออกสำหรับการบวก
                          เมื่อ a, b, c เป็นจำนวนจริงใดๆ
                          ถ้า a + c = b + c แล้ว a = b
                          ถ้า a + b = a + c แล้ว b = c

ทฤษฎีบทที่ 2  กฎการตัดออกสำหรับการคูณ
                           เมื่อ a, b, c เป็นจำนวนจริงใดๆ
                           ถ้า ac = bc และ c   0 แล้ว a = b
                           ถ้า ab = ac และ   0 แล้ว b = c

ทฤษฎีบทที่ 3  เมื่อ a เป็นจำนวนจริงใดๆ
                           a · 0 = 0
                           0 · a = 0

ทฤษฎีบทที่ 4  เมื่อ a เป็นจำนวนจริงใดๆ
                           (-1)a = -a
                           a(-1) = -a


ทฤษฎีบทที่ 5  เมื่อ a, b เป็นจำนวนจริงใดๆ
                   ถ้า ab = 0 แล้ว a = 0 หรือ b = 0

ทฤษฎีบทที่ 6  เมื่อ a เป็นจำนวนจริงใดๆ
                           a(-b) = -ab
                           (-a)b = -ab
                           (-a)(-b) = ab
         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น